SMS โรงพยาบาล ส่งข้อความติดตามแพทย์ พยาบาล แจ้งข้อมูลข่าวสาร
การใช้ SMS ในวงการแพทย์ ที่ ฮาร์วาด เมดดิคอล สคูล (Harvard Medical School) เป็นผู้
นำในการใช้ SMS เพื่อช่วยในการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินมาตั้งแต่ปี 1990 โดยเริ่มแรก
จะเป็นการสื่อสารภายในระหว่างแพทย์กับแพทย์เท่านั้น แต่ต่อมาก็ขยายวงกว้างไปถึงคนไข้
ด้วย ปัจจุบันหลายประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปก็ได้นำเอา SMS ไปใช้ในวงการแพทย์อย่าง
แพร่หลาย มาดูกันว่าแต่ละประเทศได้ใช้ SMS เพื่อช่วยในการรักษาพยาบาลอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างการใช้ SMS ในโรงพยาบาลต่างๆ ประเทศจีน3 โรงพยายาลใหญ่ในเซี่ยงไฮ้ได้ตอบ
รับการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบใหม่ที่เข้าถึงคนไข้ได้ทันท่วงที ก็คือ การใช้ SMS เพื่อนัดคนไข้
หรือคนไข้จะส่ง SMS มานัดหมอก็ได้ อีกทั้งแพทย์ยังเปิดโอกาสให้คนไข้ปรึกษาเรื่องโรคภัย
ไข้เจ็บต่าง ๆ ผ่านทาง SMS อีกด้วย ในทางกลับกัน คนไข้เองนี่แหละ ก็สามารถติชมการรักษา
พยาบาลของคุณหมอผ่านทาง SMS ได้เช่น ความก้าวหน้าเช่นนี้เลยทำให้ชาวบ้านพากันขนาน
นามว่า "โรงบาลมือถือ" (Cell Phone Hospital)
ประเทศสิงคโปร์
บริการที่ชื่อว่า เมอร์คิวรี่ เป็นบริการส่ง SMS ประจำวันเพื่อดูและคนไข้อย่างใกล้ชิดโดยหมอจะส่งไปเพื่อบอกว่ากับญาติของคนไข้ว่า วันนี้คนไข้อาการเป็นอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร หรือมีนัดตรวจอีกครั้งวันไหน
ประเทศอังกฤษ
มีการส่ง SMS เพื่อย้ำเตือนคนไข้ให้มาตาม วันและเวลานัด ซึ่งนโยบายใหม่นี้ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น และในบางทีก็ใช้สำหรับการส่งรายงานผลการวินิจฉัยโรงได้ทันท่วงที โดยคนไข้ไม่ต้องมานั่งรถฟังผลอีกครั้ง ประหยัดเวลาทั้ง 2 ฝ่ายไปได้มากทีเดียว
ประเทศตุรกี
มีผู้คิดค้น "กำไลข้อมืออัจฉริยะ" ที่สามารถช่วยชีวิตคนในนาทีวิกฤติได้ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และคนป่วยที่จะต้องอยูคนเดียวลำพัง โดยกำไลนี้จะถูกเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยีระบบจีเอสเอ็ม อีกทั้งยังสามารถที่จะวัดอุณหภูมิร่างกาย ระดับความดันเลือด และ อัตราการเต้นของชีพจร เพื่อส่งผ่าน SMS หรือ ว๊อยซ์ แมสเสจ(ข้อความที่มีเสียงพูด) ไปยังเบอร์โทรศัพท์หมอ
"เครื่องวัดคลื่นหัวใจทางไกล" รายงานผลทันทีบนหน้าจอมือถือของหมอ สำหรับวางแผนกู้ชีวิตผู้ป่วยได้ทันการณ์ ผศ.ดร.อาภรณ์ ธีรมงคลรัศมี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ห้องปฏิบัติการวิจัยไบโออิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย ได้พัฒนา "เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจระยะไกล" ที่สามารถแจ้งผลตรงถึงมือแพทย์ปลายทางผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจซึ่งอยู่อาศัยตามลำพัง เพราะข้อมูลที่แพทย์ได้รับจะนำไปสู่การวิเคราะห์และวางแผนช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ปัจจุบันเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความจำเป็นมาก สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจที่อาจผิดปกติ จากนั้นจึงจะส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ขณะที่บางครั้งการรักษาอาจไม่ทันเวลา หากอาการหัวใจล้มเหลวแบบฉับพลันรุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้น ทีมวิจัยจึงออกแบบเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจระยะไกลขึ้น เพื่อช่วยการรักษาของแพทย์เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด โดยสามารถวิเคราะห์การรักษาได้ ตั้งแต่อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงในระยะเริ่มต้น สำหรับเทคนิคการออกแบบเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจระยะไกล คือการผสมผสานระหว่างเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจกับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอาศัยการเชื่อมต่อข้อมูลด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยเครื่องวัดฯจะทำหน้าที่วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ ซึ่งตั้งค่าอัตราการเต้นของหัวใจไว้ที่ 100 ครั้งต่อนาที จากนั้นเมื่อเครื่องตรวจพบหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะส่งสัญญาณผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชื่อมกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งข้อมูลอัตราการเต้นที่เปลี่ยนแปลง ก็จะถูกส่งไปยังเครื่องโทรศัทพ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจจะเป็นโทรศัพท์ของแพทย์ผู้ทำการรักษา หรือคนในครอบครัวได้ "ข้อมูลที่ส่งถึงหมอจะอยู่ในรูปแบบข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส ซึ่งทีมวิจัยกำลังพัฒนาให้ระบบสามารถส่งข้อมูล ในลักษณะไฟล์รูปภาพแสดงช่วงคลื่นไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง คล้ายการส่ง "เอ็มเอ็มเอส" เพื่อให้การวินิจฉัยของแพทย์รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังอยู่ขั้นตอนการพิจารณาและเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน"
การใช้ SMS ในโรงพยาบาล,คลินิค,ศูนย์ดูแลสุขภาพ
Reminder Service ::
หมอนัดรักษาผู้ป่วย
ผู้ป่วยนัดกับหมอที่รักษา
แจ้งผลการตรวจสุขภาพ
แจ้งผลการรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย
แจ้งเตือนการใช้ยาของผู้ป่วย
ให้คำแนะนำผู้ป่วยในการดูแลรักษาตัว
ปรึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ผ่านทาง SMS
นัดวันตรวจ (เตือนนัด)
นัดวันทำกายภาพบำบัด (เตือนนัด)
นัดวันฉีดวัคซีน (เตือนนัด)
นัดวันดูอาการ (เตือนนัด)
แจ้งข่าวกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนไข้
ส่ง SMS ขอบริจาคเลือด / อวัยวะ
ติดต่อแพทย์ ::
เรียกตรวจฉุกเฉิน
นัดวันผ่าตัด (เตือนนัด)
แจ้งข่าวประกาศ
|